ระบบ POS ไม่ได้ทำหน้าที่แค่คิดเงินหน้าร้านเท่านั้น แต่เป็นเหมือนศูนย์กลางข้อมูลการขายและการจัดการสินค้า เมื่อเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ โดยเฉพาะระบบขนส่ง จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการคำสั่งซื้อ การจัดเตรียมสินค้า การควบคุมสต็อก และการขนส่งได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดข้อผิดพลาด เพิ่มความรวดเร็ว และยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าในการรับสินค้าได้เป็นอย่างดี
1. การเชื่อมต่อกับระบบจัดส่งสินค้า : เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้า ไม่ว่าจะหน้าร้านหรือผ่านช่องทางออนไลน์ ระบบ POS จะบันทึกรายละเอียดคำสั่งซื้อทั้งหมด และช่วยให้พนักงานรู้ว่าต้องหยิบสินค้าอะไรบ้าง เพื่อเตรียมจัดส่งได้อย่างถูกต้อง จากนั้นระบบ POS ที่เชื่อมกับระบบของขนส่ง ก็สามารถสั่งพิมพ์ใบปะหน้า หรือเรียกขนส่งมารับสินค้าได้ทันที
2. การจัดการสต็อกสินค้า : เมื่อมีการขายสินค้าผ่านระบบ POS สต็อกสินค้าจะถูกตัดออกจากระบบทันที ทำให้รู้ยอดคงเหลือที่แท้จริง ซึ่งสำคัญมากสำหรับการวางแผนการจัดส่ง เพราะช่วยให้แน่ใจว่าสินค้าที่ลูกค้าสั่งนั้นมีพร้อมส่ง ไม่เกิดปัญหาของหมดกลางคัน และระบบ POS ยังสามารถตั้งค่าให้แจ้งเตือนเมื่อสินค้าใกล้หมด ช่วยให้สามารถสั่งซื้อสินค้ามาเติมได้ทันเวลา เพื่อให้มีสินค้าพร้อมจัดส่งให้ลูกค้าเสมอ และหากร้านมีหลายสาขา หรือคลังสินค้าหลายแห่ง ระบบ POS สามารถช่วยวางแผนการส่งสินค้าระหว่างสาขาให้เหมาะสม ทำให้ลดต้นทุนการขนส่ง และป้องกันสต๊อกขาดในบางจุด
3. การออกเอกสารที่เกี่ยวข้อง และแจ้งสถานะให้ลูกค้า : ระบบ POS สามารถออกใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี หรือเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นต้องติดไปกับสินค้าที่จัดส่งได้ ซึ่งระบบ POS บางระบบ สามารถเชื่อมกับระบบติดตามพัสดุ (Tracking) โดยลูกค้าสามารถดูสถานะการจัดส่งผ่านลิงก์ที่ POS ส่งให้ได้ด้วย
4. การวิเคราะห์ข้อมูล : เจ้าของธุรกิจสามารถดูข้อมูลต้นทุนขนส่งแต่ละรอบการขาย เพื่อวางแผนต้นทุน และเจรจากับผู้ให้บริการขนส่งได้แม่นยำขึ้น เช่น สินค้าประเภทไหนมีการสั่งเดลิเวอรี่มากที่สุด ช่วงเวลาใดที่มีคำสั่งซื้อสูงสุดที่ต้องจัดส่ง